ราย วิชา ง 22101 การออกแบบและเทคโนโลยี
ช่วงชั้นที่ 3ชั้นปีที่ 2
ครูผู้สอน ดรุณี กันธมาลา
หน่าวยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง พลังงานหมุนเวียน
พลังงานแสงอาทิตย์
โดย ชื่อ ด.ช. .... นามสกุล ...
ชั้น ม. .. เลขที่ ..
พลังงานหมุนวียน
สาระที่ 3: การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการ และ ความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของใช้ วิธีการเชิงกลยุทธ ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ
ผลการเรียนรู้ที่ตาดหวัง
1.เข้าใจความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
2.บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียน
3. เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
4.เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานลม
5.เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
6.เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
7.เข้าใจความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
8.สามารถออกแบบ บล็อก (Blog) หรือเว็บไซต์ ตามกระบวนการ หรือวิธีการ (Process) ได้
9. มีเจตคติที่ดีต่อการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการดำรงชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถบอกความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียนได้
2. นักเรียนสามารถบอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
3. นักเรียนสามารถอธิบายความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้
4. นักเรียนสามารถอธิบายความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานลมได้
5. นักเรียนสามารถอธิบายความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำได้
6. นักเรียนสามารถอธิบายความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวลได้
7. นักเรียนสามารถอธิบายความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพได้
8.นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานในชีวิตประจำวันได้
9. นักเรียนสามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้
10. สามารถอธิบายการออกแบบ บล็อก (Blog) หรือเว็บไซต์ ตามกระบวนการ หรือวิธีการ (process) ได้
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
ความหมายของพลังงานหมุนเวียน
คือ พลังงานที่ได้มาจากกระแสพลังงานที่ต่อเนื่องและเกิดซ้ำ ๆ ในสิ่งแวดล้อม แหล่งของพลังงานหมุนเวียน คือ แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่องไม่หมดไป เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล หรือแม้แต่ขยะมูลฝอย เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนนี้ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก รวมถึงการเปลี่ยนรูปพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้เป็นพลังงานไฟฟ้า
ส่วนประเทศไทยในอดีตนั้นการผลิตไฟฟ้าได้ถูกจำกัดสิทธิแก่เฉพาะการไฟฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น แต่กฎระเบียบเหล่านี้ได้รับการพัฒนา จนเอกชนสามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน ตลอดถึงเอกชนรายเล็ก ๆ หรือชุมชนก็สามารถทำการผลิตไฟฟ้าแล้วส่งขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ด้วย จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้สนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพียงระบบเดียว หรือต้องการมีบ้านเรือนหรือโรงงานที่มีระบบไฟฟ้าเองเพื่อประสิทธิภาพหรือภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของพลังงานหมุนเวียน
พลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญต่อชีวิตของคนเรามาก เป็นพลังงานที่จะมาแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากเป็นพลังงานที่หาได้ง่าย ใช้ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีวันหมดสิ้น
ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน
ประโยชน์ที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนมีหลาย ๆ ด้าน ทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล จำพวกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ อีกทั้งลดการนำเข้าเชื้อเพลิงพวกนี้จากต่างประเทศ และพลังงานเชื้อเพลิงยังให้ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าสนใจอีกด้วย
ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์จากสิ่งด้อยค่าให้กลับมามีค่าในการพัฒนาประเทศได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ที่จะนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
ความหมาย ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์
กระบวนการของเซลล์แสงอาทิตย์คือการผลิตไฟฟ้าจากแสง ความลับของกระบวนการนี้คือการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุภาคที่ถูกชาร์จที่ขั้วลบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานของไฟฟ้า
สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น
ในด้านการออกแบบสถาปนิกยังใช้เซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นโดยใช้เป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ ตัวอย่างเช่น หลังคากระเบื้องหรือหินชนวนติดเซลล์แสงอาทิตย์สามารถใช้แทนวัสดุทำหลังคาที่ใช้กันทั่วไป ฟิล์มแบบบางที่ยืดหยุ่นสามารถนำไปประกอบเข้ากับหลังคารูปโค้งได้ ในขณะที่ฟิล์มกึ่งโปร่งแสงทำให้เกิดการผสมผสานแสงเงาเข้ากับแสงในตอนกลางวัน นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถผลิตพลังงานสูงสุดให้กับอาคารในวันอากาศร้อนในฤดูร้อนเมื่อระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานมากที่สุด ดังนั้นจึงช่วยลดภาวะไฟฟ้าเพิ่มปริมาณขึ้นสูงสุด
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://bhumibol.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99